Last updated: 25 เม.ย 2566 | 1350 จำนวนผู้เข้าชม |
ในปัจจุบันกระแสของรถยนต์ไฟฟ้า หรือ มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เริ่มเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น ซึ่งรถพลังงานไฟฟ้า EV จุดเด่นหลัก ๆ แล้วจะสิ้นเปลืองในการใช้พลังงานที่น้อย เมื่อเทียบเท่ากับรถที่ใช้น้ำมันเติม นอกจากนี้ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถลดมลภาวะทางอากาศได้เป็นอย่างดี เพราะปกติแล้วรถจะมีการปล่อยก๊าซพิษหรือการปล่อยไอเสียของเครื่องยนต์ ดังนั้นหากใครที่กำลังใช้รถยนต์หรือรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าอยู่ สามารถมาเช็คเพื่อหา สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ปตท. เพื่อวางแผนการเดินทางได้อย่างเป็นระบบผ่านบทความนี้กันได้
สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ปตท. (EV Station PluZ) จะเป็นโซนสำหรับรถยนต์หรือรถมอเตอร์ไซค์ที่ต้องการชาร์จพลังไฟฟ้า ที่มีระบบ Quick Charge ที่จะช่วยทำให้การชาร์จแบตมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยกำลังไฟฟ้ามีตั้งแต่ 50 - 160 กิโลวัตต์ ใช้งานง่ายและสะดวกเป็นอย่างมาก และถ้าอยากรู้ว่าสถานีชาร์จของปตท.จะมีบริเวณไหนบ้าง ต้องบอกเลยว่ามีครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย อย่างกรุงเทพก็จะมีหลาย ๆ จุดให้ใช้บริการ ในส่วนต่างจังหวัดก็จะเน้นในตัวเมือง หรือเส้นทางการเดินทางที่นับว่าเป็นเส้นทางสำคัญสำหรับการท่องเที่ยว ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถสร้างความสบายใจสำหรับผู้ที่เลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือแม้แต่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี
สำหรับวิธีค้นหาผ่านระยะทางจากตำแหน่งปัจจุบันจะสามารถเช็คได้หากผ่าน Location ที่เราตั้งอยู่ ให้ทำการดูว่ามีสถานีไหนที่ใกล้ที่สุดสำหรับเรา โดยดูได้ว่าห่างประมาณกี่กิโลเมตร ทั้งนี้การเลือกเส้นทางที่คุ้นเคยหรือปั๊มที่เคยไปเป็นประจำจะสะดวกง่ายมากยิ่งขึ้น
สำหรับวิธีค้นหาผ่านหัวชาร์จที่ต้องการจะชาร์จ ทุกคนจำเป็นจะต้องเข้าใจก่อนว่าการชาร์จด้วยพลังงานไฟฟ้า จะมีหัวชาร์จหลาย ๆ แบบให้เลือกมากมาย ซึ่งจุดนี้เบื้องต้นเราจำเป็นจะต้องรู้ว่ารถของเราใช้หัวชาร์จแบบไหน ซึ่งในจุดนี้สามารถหาข้อมูลเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง หรือจะสอบถามทางเจ้าหน้าที่ปั๊มก็ได้เหมือนกัน เมื่อรู้แล้วก็เพียงแค่เลือกหัวปั๊มแบบที่ต้องการได้เลย
สำหรับวิธีค้นหาผ่านชื่อจุดตั้งนับเป็นอีกวิธีที่ใช้ง่าย เพียงหยุดอยู่ตำแหน่งของตัวเอง ตัวระบบก็จะทำการเสิร์ชหาและแสดงตำแหน่งของแผนที่ในบริเวณใกล้เคียงกับที่เราอยู่ว่ามีปั๊มไหนบ้างที่อยู่ใกล้ ๆ กับเรา โดยในการค้นหาแบบนี้จะมีการระบุสีเพื่อที่จะสามารถเช็คได้ว่าโซนในบ้างที่จุดชาร์จพร้อมใช้บริการ ถ้าหากที่ปักหมุดเป็นสีฟ้า คือ เครื่องพร้อมขาร์จ , ถ้าหากที่ปักหมุดเป็นสีเทา คือ เครื่องไม่พร้อมให้บริการ และ ถ้าหากเป็นที่ปักหมุดสีแดง คือ เครื่องที่กำลังชาร์จอยู่นั่นเอง
วิธีค้นหาผ่านเครื่องชาร์จที่ว่างในปัจจุบัน จะเป็นการนำที่ปักหมุดในแบบวิธีที่ 3 มาลงพื้นที่โดยกว้างแบบระเบียบ ซึ่งสัญลักษณ์ของเครื่องชาร์จก็จะเหมือนกันนั่นก็คือ เครื่องพร้อมขาร์จ , ถ้าหากที่ปักหมุดเป็นสีเทา คือ เครื่องไม่พร้อมให้บริการ และ ถ้าหากเป็นที่ปักหมุดสีแดง คือ เครื่องที่กำลังชาร์จอยู่
เลือกสถานีที่จะชาร์จ เครื่องชาร์จ และหัวชาร์จที่จะจอง โดยในจุดนี้จะต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน
การจองชาร์จจะคิดเป็นรอบละ 55 นาที ผ่านทางแอปพลิเคชันได้ตลอด 24 ชั่วโมง แนะนำว่าให้จองล่วงหน้าและไปให้ตรงเวลาก็จะประหยัดเวลาได้มากยิ่งขึ้น
เข้าชาร์จตามเวลาที่กำหนดภายใน 10 นาทีที่ได้มีการจอง จะต้องมีการเสียค่าจอง แต่ถ้าหากมาใช้บริการตรงเวลาก็จะได้รับส่วนลดจากค่าจองนั้น ๆ ไป
ถ้าหากมาไม่ตรงเวลาทาง สถานีชาร์จรถไฟฟ้าของปตท. ก็จะให้สิทธิสำหรับผู้ที่ walk in เข้ามาแทน
18 ม.ค. 2566
27 ต.ค. 2566
27 มี.ค. 2566
27 ต.ค. 2566